10 วิธีการปกปิดข้อมูล และไม่ทิ้งข้อมูลส่วนตัวไว้บนโลกโซเชียว

ณ ปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตช่วยทำให้ผู้คนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะติดต่อสื่อสารใน สังคมออนไลน์ กับใครๆ นั้นอาจทำให้ทุกการเชื่มต่อผู้ใช้ทิ้งรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวเอาไว้ โดยที่ไม่รู้ตัว และข้อมูลเหล่านี้อาจจะกำลังถูกบุคคลที่สามใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องเพื่อนำมาหากำไรให้กับตนเอง วันนี้เรามีวิธีที่ช่วยลดการทิ้งข้อมูลสำคัญไว้บนโลกออนไลน์ ซึ่งผู้อ่านสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ดังนี้

วิธีการปกปิดข้อมูล และไม่ทิ้งข้อมูลส่วนตัวไว้บนโลกโซเชียว

ยกเลิก หรือ ปิดบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

1. ยกเลิก หรือ ปิดบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ปิดบัญชีที่ไม่ได้ใช้ เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก เพราะการปล่อยบัญชีออนไลน์ที่ไม่ได้ใช้อย่างไม่สนใจทิ้งไว้นั้น อาจทิ้งร่องรอยของรายละเอียดบัญชีเอาไว้ได้

2. ปิดการใช้งานในบัญชีอีเมลเก่า

คุณเคยสร้างบัญชีอีเมลกี่ครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา? ในกรณีที่มีอีเมลเก่า ๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว และคิดว่าจะไม่ใช้อีก แนะนำว่าควรทำการยกเลิกอีเมลนั้นเสีย

3. ลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ที่ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

โดยการเข้าไปในแต่ละหน้าเว็บไซต์เหล่านั้น เพื่อจัดการกับข้อมูลในแต่ละส่วน หรือใช้บริการที่จะช่วยในการลบข้อมูลบัญชีทั้งหมด โดยรายชื่อ website สามารถดูได้จาก https://www.stopdatamining.me/opt-out-list/

4. ใช้ Stealth Mode หรือ Incognito Mode หรือแม้กระทั่งใช้ Tor ไปเลย

มีตัวเลือกเบราว์เซอร์หลายตัวที่สามารถใช้งานโหมดไม่ระบุตัวตนได้ ซึ่งโหมดนี้จะสามารถหลีกเลี่ยงการถูกติดตามข้อมูลในเบื้องต้นได้ และกรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ แนะนำว่าควรใช้หมวดระบุตัวตนด้วยเช่นกัน

ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของ Account ต่าง ๆ

5. ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของ Account ต่าง ๆ

ในสื่อสังคมออนไลน์การกำหนดว่าให้คนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เพื่อนเห็นข้อมูลส่วนตัวอะไรได้บ้าง เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะการให้สิทธิสาธารณะในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลได้เช่นกัน

6. ใช้สิทธิขอลบตัวเองออกจากผลการค้นหาของ Search Engine ต่าง ๆ

สิทธิที่จะถูกลืม หรือ (Right to be Forgotten) เป็นสิทธิทางกฎหมายด้านการปกป้องข้อมูลที่สามารถร้องขอให้มีการลบข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลต่าง ๆเกี่ยวกับตัวเองที่ถูกโพสต์ในออนไลน์ขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ หรือข้อมูลที่เก่า และล้าสมัยไปแล้วออกจากอินเทอร์เน็ตได้

7. ใช้โปรแกรมเสริม หรือปลั๊กอิน สำหรับ Browser

โปรแกรมเสริม หรือปลั๊กอิน สามารถช่วยให้ Browser จากการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ที่เราเข้าใช้งานต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีโปรแกรมเสริมจำนวนมากที่ให้บริการฟรี สามารถเข้าดูได้ที่ https://www.eff.org/pages/tools

8. ใช้ข้อมูลปลอมในการกรอกรายละเอียด

หากผู้ใช้งานไม่อยากจะทิ้งข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของตนเองไว้ อาจป้องกันข้อมูลโดยการสร้างข้อมูลปลอมขึ้นมา อาทิ ที่อยู่ อีเมล หรือวันที่เกิดปลอมสำหรับบัญชีรายชื่อที่ไม่จำเป็น

อย่าคลิกแบบสอบถามที่ดูไม่น่าเชื่อถือ

9. อย่าคลิกแบบสอบถามที่ดูไม่น่าเชื่อถือ

Clickbait คือการใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือจูงใจให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปคลิกเข้าไปเพื่อตอบแบบสอบถามต่าง ๆ โดยผู้ใช้งานควรต้องใช้วิจารณญานก่อนทำการคลิกเข้าไปยังลิงก์เว็บไซต์อย่าหลงเชื่อป้อนข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญของคุณลงไป ควรชั่งใจถามตัวเองก่อนว่ามันคุ้มค่าไหมกับการแลกข้อมูลส่วนตัวให้กลายเป็นข้อมูลสู่สาธารณะให้แฮกเกอร์นำข้อมูลของเราไปใช้งาน

10. ร้องขอกับทางเว็บไซต์โดยตรง

ให้ทำการลบรายละเอียดข้อมูลผู้ใช้ จากฐานข้อมูล หรือใช้บริการ JustDeleteMe ที่สามารถให้บริการช่วยเหลือในการลบบัญชีจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้

 

การใช้อินเตอร์เน็ตก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่คุณควรจะรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวคุณเองให้มาก เพราะทุกวันนี้โลกได้วิวัฒนาการเทคโนโลยีต่างๆ ไปไกลมากในบางที่เราอาจจะไม่รู้เลยว่าสิงที่เรากรอกลงไปในเว็บไซต์หรือสื่อโซเชียวต่างๆ อาจจะกลับมาทำร้ายตัวคุณเองก็ได้ ดังนั้นเราจึงป้องกันไว้ดีกว่าแก้

 

ข้อมูลจาก/catcyfence

เรียบเรียงโดย/168Asiatopten.

ติดต่อเราได้ที่นี่