10 โบราณสถาน ที่งดงามตระการตา แหล่งรวมอารยธรรมของคนไทย

โบราณสถานแหล่งอารยธรรมของไทย ความภูมิใจของคนไทยที่บ่งบอกถึงความเจริญและอารยธรรมย้อนหลังไปร่วมกว่าสหัสวรรษ โบราณสถานอันยิ่งใหญ่ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง โบราณสถานบางแห่งถึงขั้นติดทะเบียนมรดกโลก ที่เป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทย ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เริ่มต้นเมื่อหลายหมื่นปีก่อน นับตั้งแต่ตอนนั้น มนุษย์ได้สร้างประดิษฐ์สิ่งของสถานที่สำคัญๆ ขึ้นมากมาย บางแห่งนั้นเมื่อพิจารณาถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว แทบจะไม่สามารถประเมิณได้เลยทีเดียว ที่นี้เรามาดู 10 โบราณสถาน ที่มีความงดงามตระกานตาเป็น แหล่งรวมอารยธรรม

ภาพรวมหัวข้อเนื้อหา

1. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ประติมากรรมและศิลปกรรมเขมร มีจารึกภาษาเขมรในบริเวณกำแพงประตู จุดเด่นของเมืองโบราณแห่งนี้คือ ปราสาทหินพิมาย ซึ่งเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จากหลักฐานศิลาจารึกและรูปแบบทางศิลปะสร้างบ่งบอกว่าปราสาทหินได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ก่อนอาณาจักรสุโขทัย เพื่อเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ เชื่อกันว่าเป็นต้นแบบของปราสาทนครวัดแห่งกัมพูชา เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุศิลปะขอมเอาไว้จำนวนมากและน่าสนใจที่สุดของประเทศไทย

2. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ตั้งอยู่ในป่าธรรมชาติที่ยังคงบรรยากาศของพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเดิม ด้วยเหตุนี้ยูเนสโกจึงขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเพื่อรักษาสภาพของเมืองโบราณแห่งนี้ไว้ มีงานสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นที่ก่อสร้างด้วยหินศิลาแลง และประติมากรรมที่ยังคงสภาพเดิมที่แสดงถึงความเจริญในสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 

3. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ หรือปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นปราสาทศิลปะขอม มีเทวสถานนิกายมหายานอยู่ภายในบริเวณปราสาท มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีการค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก โดยได้แบ่งเขตสำคัญของปราสาทไว้ 3 ส่วน คือ โบราณสถานหมายเลขหนึ่ง เป็นหัวใจหลักของเมืองสิงห์

4. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 เป็นโบราณสถานที่มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 45.14 ตารางกิโลเมตรใน 4 ตำบล มีโบราณสถานทั้งหมด 215 แห่ง แต่สำรวจค้นพบ 204 แห่ง มีจุดโดดเด่นของโบราณสถานขนาดใหญ่หลายแห่งที่สร้างขึ้นจากศิลาแลง ด้วยเหตุที่ว่าเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติป่าเขา แยกตัวออกจากความเจริญของตัวเมืองในยุคสมัยใหม่ จึงทำให้อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้มีความสวยงามทั้งทางธรรมชาติและมีความสมบูรณ์ของโบราณสถานมากที่สุดในเมืองไทย

5. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

อดีตราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดของสยามประเทศ ยาวนานถึง 417 ปี ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากยูเนสโก เป็นแหล่งอารยธรรมที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ตัวเมืองเก่าล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์เป็นที่ตั้งของโบราณสถานมากมาย

6. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
หรือที่เรียกกันว่า ปราสาทหินพนมรุ้ง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นนเทวสถานของศาสนาฮินดูราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 ด้วยหินทรายสีชมพูและใช้ศิลปะแบบขอมโบราณ โดยตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง เนื่องจากที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงถึง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ปราสาทจึงรายล้อมด้วยภูมิทัศน์อันงดงามและมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยน่าอัศจรรย์ในช่วงที่แสงพระอาทิตย์ส่องทะลุ 15 ช่องประตู ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 4 ครั้งในช่วงที่ (1) พระอาทิตย์ตก 4-6 มีนาคม (2) พระอาทิตย์ตก 4-6 มีนาคม (3) พระอาทิตย์ขึ้น 1-5 เมษายน และ (4) พระอาทิตย์ขึ้น 8-10 กันยายน ทั้งนี้ วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับฤดูกาล

7. พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

พระปฐมเจดีย์
ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองนครปฐมตั้งอยู่ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นเจดีย์ใหญ่ทรงระฆังคว่ำ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า แต่เดิมเรียกว่า “พระธมเจดีย์” ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า เจดีย์ใหญ่องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นแต่ครั้งพระสมณทูตของพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “พระปฐมเจดีย์” หรือ “เจดีย์แห่งแรก” นอกจากนั้นในบริเวณโบราณสถานแห่งนี้มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่เป็นแหล่งรวบรวมศิลปกรรมชั้นดีของสมัยทวารวดีมากที่สุดในไทย

8. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ครอบคลุมบริเวณของยอดเขา 3 ลูก รู้จักกันในนาม “เขาวัง” เป็นพระราชวังแห่งเดียวของประเทศไทยที่ตั้งอยู่บนยอดเขา แต่เดิมเป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนไหล่เขา “วัดมหาสมณาราม” ที่ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนของขรัวอินโข่งบนผนังทั้ง 4 ด้าน รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเคยมาปฏิบัติธรรมที่ยอดเขาแห่งนี้ หลังจากขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น ทรงพระราชทานนามว่า “พระราชวังพระนครคีรี” โดยยอดเขาทางทิศตะวันตกเป็นที่ประทับและเรือนบริวาร ยอดกลางเป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมเพชร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และบนยอดเขาด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้ว อารามประจำพระราชวังพระนครคีรี ปัจจุบันได้มีการบูรณะและจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

9. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ “วัดพระแก้ว” จังหวัดกรุงเทพฯ

 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ “วัดพระแก้ว”
เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร “พระแก้วมรกต” ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ และเคยประดิษฐานชั่วคราวที่วัดพระแก้ว จ. เชียงราย เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์จักรีในสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อเป็นพระอารามหลวงในพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ มีเพียงแค่ส่วนของพุทธาวาสเพื่อประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เท่านั้น ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม ยิ่งใหญ่และยังมีจิตรกรรมฝาผนังรอบพระระเบียงเรื่องรามเกียรติ์อันวิจิตรตระการตาและมีความยาวที่สุดในโลกอีกด้วย

10. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรไทยและการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในด้านศิลปกรรมแขนงต่างๆ พุทธประติมากรรมของสุโขทัยได้รับการยอมรับกันว่าเป็นสุดยอดทางความงามของศิลปะไทย มีความอ่อนช้อยอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในเขตอุทยานมีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมาย รวมไปถึงพระพุทธรูปโบราณขนาดใหญ่ และสิ่งก่อสร้างโบราณสถานมากมายภายนอกกำแพงเมือง 70 แห่งและภายในกำแพงเมือง 26 แห่ง 

 

เรียกได้ว่าเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ชวนให้หลงใหลน่าสัมผัส เรียนรู้ศึกษา ทั้งความงดงามในสถาปัตยกรรมโบราณ และวัฒนธรรมวิถีชาวบ้าน และอีกหลากลาย ไม่ควรพลาดที่จะไปเยี่ยมชม และยังมีอีกหลายสถานที่ในเมืองไทยทีน่าไปเที่ยวชม

 

เรียบเรียงโดย/168Asiatop10.

ติดต่อเราได้ที่นี่