วัฒนธรรมและ ประเพณีไทย แสดงออกถึงความเป็นไทยที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวยงามอ่อนช้อย และมีเรื่องราวกึ่งลึกกลับมหัศจรรย์ อยู่เมืองไทยมาก็นาน ยังมีอีกหลายประเพณีที่เรายังไม่เคยเห็น และไม่เคยรู้จัก วันนี้จะขอพามาชม 10 ประเพณีโบราณที่คนยุคปัจจุบันอาจไม่เคยรู้จัก ลองตามมาอ่านกันดูค่ะว่าพอจะมีประเพณีไหนบ้างที่เราไม่เคยรู้ว่าก่อนเลยว่ามีประเพณีแบบนี้อยู่ในประเทศของเราด้วย
ภาพรวมหัวข้อเนื้อหา
1. ประเพณีการฟ้อนผีปู่ย่า
การฟ้อนผีปู่ย่า หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การเลี้ยงผีบรรพบุรุษของตระกูล มีองค์ประกอบสำคัญ คือ มีดนตรีมามให้ผีหรือเจ้าได้เสพอาหาร และมา สนุก ฟ้อนรำกัน โดยมีช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรมตั้งแต่เดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓) หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงย่างเข้าฤดูฝน เป็นความเชื่อ เกี่ยวกับการนับถือผีปู่ย่าของชาวเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวลำปางนั้นเอง
2. ประเพณีตักบาตรดอกไม้
เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอำเภอพระพุทธบาทที่สืบตามกันมานานมากแล้ว ในวันนี้ชาวเมืองจะพากันนำ “ดอกเข้าพรรษา” ซึ่งมีเฉพาะในช่วงเข้าพรรษา ที่จังหวัดสระบุรีเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น มาตักบาตร ในงานมีทั้งขบวนรถที่สร้างสรรค์ไปด้วยเทียนหรือขบวนรถที่ตกแต่งเต็มไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม
3. ประเพณีกวนข้าวทิพย์
เป็นประเพณีที่สืบทอกกันมานานตั้งต่ยุคสมัยของสุโขทัย ที่เชื่อกันว่าถ้าหากได้มีการหุ่งข้าวทิพย์ให้เทวดา จะทำให้เกิดความเป็นศิริมงคลแกตัวเอง การกวนข้าวทิพย์ต้องใช้เวบาในการกวน 3 วัน 2 คืน และต้องมีการบอกให้คนในหมู่บ้านมาช่วยกัน โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมวัดถุดิบจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
4. ประเพณีตักบาตรเทโว
การตักบาตรเทโวเป็นประเพณีวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน หลายคนคงเคนได้ยินหรือเคยไปตักบาตรกันมาบ้างแล้ว ประเพณีจะเริ่มจัดทุก วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก
5. ประเพณีทำขวัญข้าว
ด้วยความเชื่อของไทยแต่โบราณ หลังจากการเก็บเกี่ยวจะเกิดพิธีการที่เรียกกันอีกชื่อว่า การเรียกขวัญพระแม่สพ แต่เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้การทำนาข้าวอาจทำได้ถึง 3 ครั้งต่อปี จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเพณีทำขวัญข้าว ค่อยๆเลื่อนหายไป
6.ประเพณีกำฟ้า
กำฟ้า คือการเคารพบูชาท้องฟ้า เป็นประเพณีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวนส่วนพวกผู้เฒ่าผู้แก่ ก็จะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง โดยเชื่อว่า
- 1. ถ้าฟ้าร้องทางทิศเหนือ หรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะดี ทำนาได้ผลดี
- 2. ถ้าฟ้าร้องทางทิศใต้ และทิศตะวันตก ทำนายว่าฝนจะแล้ง การทำนาจะเสียหายข้าวจะยาก หมากจะแพง
- 3. ถ้าฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ฝนตกปานกลาง นาลุ่ม จะดี นาดอนจะเสียหาย เท่าที่ทราบมีอยู่ว่า ความเชื่อของชาวไทยพวนนั้น ถือว่าผู้ประกอบพิธีกำฟ้าแล้วยังไม่เคยมี ผู้ใด ถูกฟ้าผ่าตายเลย
7.ประเพณีโยนบัว
ประเพณีโยนบัววัดบางพลีใหญ่ใน เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเรียกกันว่าเป็นประเพณีโยนบัว 1 เดียวในโลก เลยทีเดียว ซึ่งรับรองได้เลยว่ามีแค่ที่จังสมุทรปราการของประเทศไทยเท่านั้น
8. งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ
“งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ” ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญ เป็นงานประเพณีที่สะท้อนความเชื่อของชาวไทยที่มีชีวิตผูกพันกับสายน้ำอันมีแม่พระคงคาเป็นใหญ่ หลังจากที่ได้ใช้น้ำในการดำเนินชีวิตทั้งการอุปโภคและบริโภคมาตลอดทั้งปีแล้ว ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี จึงจัดพิธีขอขมาต่อแม่พระคงคาด้วยการลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่ตระการตา
9. ประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีแห่นางแมวขอฝน จะมีการทำพิธีของชาวบ้านโดยการแห่แมว หรือเรียกว่า แห่นางแมว เพราะเชื่อว่าที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนจากแมวจริงๆมาเป็นตุ๊กตาแทนแล้วเนื่องจากเป็นเหมือนการรมาณสัตว์
10. ประเพณีสวดด้าน
ที่เรียกว่า “สวดด้าน” คือ การอ่านหนังสือร้อยกรองอันเป็นวรรณกรรมพื้นเมืองท้องถิ่น ให้แก่คนที่มานั่งรอพระสงฆ์ลงมาเทศน์หลังเวลาฉันเพลอยู่ตามระเบียงวิหารคด ยิ่งถ้าคนอ่านที่เคยเป็นพระนักเทศน์ นักแหล่ เป็นคนทำขวัญนาค คนเคยเล่นหนังตะลุงมโนราห์มาก่อน จะยิ่งมีลูกเล่น ทำให้น่าติดตามฟังมากขึ้น
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ เคยได้ยินหรือเคยไปประเพณีเหล่านี้มาหรือไม่ สำหรับคนที่เคยไปมาแล้วหลายๆ คนคงต้องอยากจะไปเที่ยวตามจังหวัด หรือชุมชนที่มีวัฒนธรรรมและประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราน ที่คงไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อๆกันไป