เรื่องเล่าในประเทศไทยของเรานี้มีมากมายจนอาจจะนับไม่ถ้วน ตำนานพื้นบ้าน ก็เป็นเรื่องเล่าโบราณที่เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้นๆและคติสอนใจ และตำนานพื้นบ้านไทย ก็เป็นเรื่องที่เล่ากันมาให้ทุกยุคทุกสมัย แต่หากสงสัยว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่แต่งขึ้นมานั้นก็มามิอาจทราบได้ ในวันนี้เราได้รวบรวมตำนานพื้นบ้านที่มีมานมนาน มาให้ทุกท่านได้อ่านกัน ก่อนที่มันจะถูกลืมหายไปตามกาลเวลา
ภาพรวมหัวข้อเนื้อหา
อันดับที่ 1 ตำนานพื้นบ้านพระนางเลือดขาว
ตาสามโมกับยายเพชรสองสามีภรรยา วันดีคืนดีสองตายายได้พบกับกุมารจากป่าไม้ไผ่เสรียง และยังพบกุมารีจากไม้ไผ่พรรณเลือดขาว สองตายายจึงได้เรียกว่า นางเลือดขาว ทั้งสองก็เจริญตามวัยหนุ่มสาว ตากับยายจึงให้ทั้งสองแต่งงานกัน หลังจาากนั้นไม่นานกุมารกับนางเลือดขาวได้ย้ายจากบ้านเกิดไปตั้งหลักปักฐานที่ใหม่ ณ บางแก้ว หลังจากที่ย้านถิ่นฐานไปไม่นานตายายก็ถึงแก่กรรม กุมารกับนางเลือดขาวก็จัดการทำฌาปณกิจศพ เมื่อเสร็จแล้วนำอัฐิไปฝังไว้ในถ้ำคูหาสวรรค์ เนื่องจากสองตายายได้ทิ้งมรดกไว้บ้างเวลาต่อมาทั้งสองก็มีกำลังทรัพย์มากขึ้น ด้วยตั้งแต่รุ่นตารุ่นยายที่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว กุมารกับนางเลือดขาวก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเช่นกัน เมื่อได้ย้ายไปอยู่ที่ใดก็ได้สร้างวัดสร้างพระพุทธรูปและอุโบสถขึ้นไว้ที่ วัดสทิง อำเภอเขาชัยสน และได้สร้างถาวรวัตถุไว้ที่ วัดเขียนบางแก้ว เพื่อเป็นกุศลอุทิศให้สองตายาย
อันดับที่ 2 ตำนานพื้นบ้านก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
นี้เป็นนิทานพื้นบ้านและตำนานเล่าขานนานมา โดยมีหนุ่มชาวนาคนหนึ่ง เขาได้ทำนามาครึ่งค่อนชีวิตและเป็นสิ่งที่เลี้ยงปากท้องทั้งเขาและแม่เขา วันหนึ่งเขาก็ได้ออกไปไถ่นาตามปกติของชีวตเขา การทำหน้าก็จะมีอาการเหนื่อยล้าตามปกติ รู้สึกร้อนและหิวโซมาก เมื่อถึงเวลามารดาก็ได้นำข้าวมาส่งแต่มาช้ากว่าปกติ ชายหนุ่มได้เห็นกล่องข้าวในมือแม่เล็กมาก จึงเกิดบรรดาลโทสะ ได้ลงมือทำร้ายผู้เป็นมารดาด้วยความโมโหหิวเขานำคันไถนาฟาดไปที่มารดา จนมารดาล้มลงและเสียชีวิต หลังจากนั้นเขาก็นั่งกินข้าวที่มารดานำมาให้ แต่กินข้าวเท่าไหร่นั้นมันก็ไม่หมดสักที หนุ่มชาวนาเริ่มได้สติ จึงหันมามองมารดาที่เสียชีวิต จึงรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ทำลงไป จึงได้สร้างธาตุก่องแห่งนี้ขึ้นมด้วยมือเพื่อหวังที่จะชดใช้กรรม
อันดับที่ 3 ตำนานพื้นบ้านชาละวัน
ตำนานแห่งเมืองพิจิตร ชาละวันพญาจระเข้ จุดกำเนินเรื่องก็คือมีตายายคู่หนึ่งมีอาชีพเก็บปลาขายแต่ไปเจอเข้ากับไข่จระเข้ จึงเก็บและนำมาเพาะเลี้ยงไว้ แต่เมื่อมันเติบโตขึ้นจึงได้ปล่อยมันไว้ที่สระข้างบ้าน วันดีคืนดีจระเข้ตัวนั้นก็ได้กินยายไป ตารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ตาเศร้าโศกเสียใจไม่รู้จะทำยังไง เลยได้อธิษฐานว่าขอตนเกิดมาแล้วต้องจองล้างจองผลาญกับจระเข้ตัวนี้ ก่อนที่ตาจะโดดลงสระไปให้จระเข้กินตายตายายไป สุดท้ายตาจึงเกิดมาเป็นไกรทอง และมาปราบกับชาละวันจนสำเร็จ
อันดับที่ 4 ตำนานพื้นบ้านทุ่งกุลาร้องไห้
ตำนานพื้นบ้านไทยเรื่องนี้มีตำนานเล่าขานว่า ในฤดูแล้งเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมามี ชนเผ่ากุบา เป็นชนเผ่าเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ชนเผ่ากุลาได้บรรทุกของมาเพื่อที่จะมาขาย มาหลายคันเกวียน เส้นทางที่พวกเขาเดินทางมาในวันนี้เป็นเส้นทางที่ไม่เคยเดินทางมาก่อน ทำให้ไม่ทราบระยะทาง เพราะพวกเขาคิดว่ายังมองเห็นเมืองป่าหลานอยูไม่ไกลนัก แต่ก็ไม่มีใครทราบเลยว่าที่เห็นนั้นมันไกลตาแต่ไกลตีนในขณะที่พวกเขากำลังข้ามทุ่งก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างมาก สินค้าก็ตากแดดและเสียหายไปครึ่งหนึ่ง เนื่องจากทนความเหนื่อยล้าไม่ไหว พวกเขาก็ได้ร้องไห้โฮออกมา เดินทางไปอีกหน่อยมันก็ยังไม่ถึงสักทีและสิ่งของก็เสียหายไปซะหมดก็ได้ทิ้งไปหมด พอได้ถึงตัวเมืองคนมารอซื้อสินค้าก็มากมายยิ่งนัก แต่ไม่มีของมาขายจึงร้องไห้โฮออกมาอีกครั้ง
อันดับที่ 5 ตำนานพื้นบ้านพญากง พญาพาน
เมื่อนานมาแล้วมีเจ้าเมืองชื่อ พญากง และมีพระมเหสีรูปงามซึ่งได้ทรงพระครรภ์ โหรหลวงได้มีคำทำนายว่าหากบุตรชายคนนี้ออกมาแล้วจะเป็นผู้มีบุญ จะได้เป็นใหญ่แต่จะเป็นคนที่ทำการฆ่าบิดา เมื่อถึงครบกำหนดคลอด ข้าราชบริพารได้เอาพานไปรองรับแต่บังเอิญหน้าผากของพระกุมารได้ไปฟาดกับขอบพาน พญาพรจึงสั่งให้เอาพระกุมารไปทิ้งตามยถากรรม แต่ยายหอมได้ไปพบเข้าจึงนำไปเลี้ยง และฝากให้เล่าเรียนที่วัดโคกยายหอม พานเป็นเด็กฉลาด สมภารวัดจึงรักใคร่มีวิชาอะไรก็สอนให้หมด หลังจากนั้นไม่นานอาจารย์ก็ได้นำพานไปฝากเข้ารับราชการกับพระยาราชบุรี ญาพานเป็นผู้ที่เก่งกาจในการรบ ทำมให้ทัพพระยาราชบุรีแข็งแกร่งขึ้น และยกทัพไปตีเมืองของพญากง ทั้งสองทำยุทธหัตถีกัน ในที่สุดพญาพานจึงตัดคอพญากงด้วยง้าว พญาพานได้ทุกออย่างทั้งเมืองสมบัติและพระมเหสี ครั้นเมื่อไปถึงพระมเหสี เทวดาได้แปลงกายเป็นแม่แมวและลูกแมงนอนกินนม พญาพานจึงอธิษฐานว่า หากพระมเหสีเป็นแม่ก็ขอให้มีน้ำนมไหลออกมา ท้ายที่สุดก็มีน้ำนมไหลออกมา พญาพานรู้อย่างนั้นก็เสียใจอย่างมากที่ได้ฆ่ายายหอมผู้เป็นยายที่ไม่ยอมบอกความจริง และได้ทำการปิตุฆาตผู้เป็นพ่อ พญาพานรู้สึกผิดจึงได้สร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการล้างบาปกับสิ่งที่ทำ
อันดับที่ 6 ตำนานพื้นบ้านพระนางสามผิว
ณ เมืองฝาง หรือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน มีพระมเหสีองค์หนึ่งที่สวยงามมาก สีผิวของพระนางจะเปลี่ยนไปเป็น 3 สี ในแต่ละวัน ในช่วงเช้าพระนางจะมีสีผิวขาวผุดผ่อง ในช่วงเที่ยงพระนางจะมีสีผิวเป็นสีชมพูอ่อน ในช่วงเย็นผิวของพระนางจะมีสีแดงระเรื่อ จึงได้มีพระนามพิเศษว่า พระนางสามผิว ข่าวนี้ได้ดังไปทั่วทุกเมือง และข่าวนี้ก็ได้รู้ไปถึงกษัตริย์ของพม่า พระองค์จึงอยากทอดพระเนตร จึงได้ปลอมเป็นพ่อค้าต่างแดน จากเมืองตะโก้เข้ามาขายและได้ทูลถวายผ้าเนื้อดีแก่นางขัตติยะนารีฝาง เพื่อจะได้ยลโฉมของนาง ครั้งนั้นพระองค์ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นว่านางงดงามเพียงใด เมื่อกลับไปที่ประทับก็เฝ้านึกถึงแต่นาง แต่นางพระสวามีแล้ว จึงได้คิดว่าทำการใดถึงจะได้นางมา และวิธีที่จะทำให้ได้นางมาก็คือการทำศึกชิงนาง ทหารทั้งสองเมืองได้าู้รบจนนานมาถึงสามปี ฝ่ายพม่าได้ล้อมเมืองฝางไว้หมด ทำให้ชาวเมืองอดยากขาดเสบียง จนพระนางและพระองค์เมืองฝาง ตัดสินใจที่จะปลิดชีวิตตัวเองเพื่อชาวเมือง และเมื่อทัพพม่าตีเมืองฝางได้แล้วจึงทราบว่า พระนางสามผิวและพระองค์เมืองฝางได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว เมื่อสงครามสงบชาวเมืองเห็นว่าเจ้าเมืองและมเหสีทรงเสียสละมาก จึงได้สร้างอนุเสาวรีย์ทั้งสองพระองค์ไว้ที่บ่อน้ำชาววา ไว้กราบไหว้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
อันดับที่ 7 ตำนานเมืองลับแล
ที่แห่งนี้เป็นเมืองที่มีแต่ผู้หญิง ยึดมั่นในความดี มีศีลธรรม และวาจาสัตย์ ห้ามโกหกมดเท็จ มีตำนานเล่าว่ามีชายผู้หนึ่งได้เดินหลงทางเข้าไปในป่าเมืองลับแล และเกิดพบรักก็หญิงสาวลับแล หญิงสาวผู้นั้นได้พาผู้ชายคนนี้ไปยังเมืองและได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยา หญิงสาวใหายหนุ่มสัญญาว่าจะไม่พูดเท้จ ชายหนุ่มก็ตบปากรับคำเป็นอย่างดี วันหนึ่งภรรยาได้ออกไปเก็บผักเผื่อเอามาทำอาหาร ลูกได้เกิดร้องไห้หิวนม ผุ้เป็นพ่อได้ปลอบให้ลูกหยุดร้องโดยหลอกว่าแม่กลับมาแล้ว ลูกจึงหยุดร้องไก้ เมื่อภรรยาทราบว่าสามีกล่าวเท็จ ก็จำเป็นต้องให้สามีออกจากเมืองนี้ไป เพราะไม่รักษาสัตย์สัญญา ก่อนออกจากเมืองภรรยาได้มอบย่ามให้สามีและให้สัญญาว่าจะไม่เปิดดูระหว่างทาง แต่สามีไม่เชื่อตามที่ภรรยาสั่ง แอบเปิดดูจึงเห็นแต่ขมิ้น จึงนำเอาของในย่ามทิ้ง และเมื่อถึงบ้านจึงพบว่าขนิ้มที่เหลือเพียงหัวเดียวเป็นทองคำ
อันดับที่ 8 ตำนานพื้นบ้านท้าวแสนปม
เรื่องนี้เป็นทั้งตำนานพื้นบ้านและนิทานพื้นบ้านที่เล่ากันมาปากต่อปาก ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์มีชายคนหนึ่งที่มีปุ่มปมเต็มตัวไปหมด จึงได้มีชื่อว่า ท้าวแสนปม มีอาชีพปลูกผักขายเพื่อเลี้ยงตัวเอง มีมะเขือต้นหนึ่งที่สวยงามผลดกน่ารับประทาน อยุ่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดาอยากเสวยมะเขือ พวกบริพารก็ไปเสาะแสวงหามะเขือมาให้พระธิดา ก็มาพบกับมะเขือของท้าวแสนปมลูกใหญ่ผลน่ารับประทาน หลังพระราชธิดาเสวยได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายขี้หน้ามาก พยามถามพระธิดาก็ไม่บอกว่าใครเป็นพ่อของเด็ก ท้าวไตรตรึงา์จึงได้ประกาศให้บรรดาเหล่าขุนนางนำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกินของใคร ผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวงพระราชทาน นายแสนปมได้ทราบข่าวก็ได้เข้าวังมาเช่นกัน โดยถือเพียงข้าวสุกเข้ามาเพียงก้อนเดียว แต่กุมารกลับรับไปเสวย ท้าวไตรตรึงษ์ได้เห็นเช่นนั้นก็จึงได้ขับไล่พระธิดากับท้าวแสนปมออกจากวัง ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมาให้ กลองนี้ตีอยากเป็นอะไรก็ได้ตามแต่สารพัดนึก ท้าวแสนปมอธิษฐานว่าให้หายจากการเป็นปุ่มปม ก็กลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงาม และได้ตีกล่องขอบ้านขอเมือง และได้ตั้งชื่อว่าเมืองเทพนคร
อันดับที่ 9 ตำนานพื้นบ้านวัดศรีชุม
วัดพระพูดได้ ไม่ใช่พระที่เป็นพระสงฆ์นะ แต่เป็นพระพุทธรูปพูดได้ ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกกองทัพไปปราบกบฎที่เมืองสวรรคโบก ได้มีการชุมนุมที่วัดศรีชุม เพราะการรบในครั้งนี้เป็นการรบกับคนไทยด้วยกันทำให้มีทหารที่ไม่อยากรบ พระนเรศจึงได้มีการวางแผนสร้างขวัญกำลังใจ โดยการให้นายทหารเหล่านั้นปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังขององค์พระพุทธรูปและได้พูดให้กำลังใจกับเหล่าทหาร และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของ พระพุทธรูปพูดได้
อันดับที่ 10 ตำนานพื้นบ้านข้าวสารดำ
ข้าวสารดำนี้เป็นข้าวสารที่อยู่ในท้องพระคลังของเมืองราด ที่จะเก็บไว้เพื่ออุปโภคบริโภค และเมื่อพระนางสิงขรมหาเทวี ซึ่งเป็นธิดาของกษัตริย์ขอมและเป็นมเหสีของพ่อขุนผาเมือง เผาเมืองไฟได้ไหม้ท้องพระคลังจนทำให้ข้าวสารไหม้เกรียมจนเป็นสีดำ เนื่องจากนางไม่พอใจที่พ่อขุนผาเมืองยกทัพไปไล่พวกข่อม ในเวลาหลายร้อยปีต่อมาจึงถูกจมอยู่ในดิน จึงได้พบว่ามีข้าวสารกระจัดกระจานไปทั่วบริเวณและหาได้ไม่ยาก