10 นักมวยไทย ทำผลงานให้ชาวไทยปลื้มปิติ

มวยไทย คือศิลปะการป้องกันตัวของไทย ซึ่งมีประวัตความเป็นมาอันยาวนาน เป็นศิลปะป้องกันตัวที่นำมาใช้ในศึกสงคราม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีนักมวยที่มีฝีมือและสร้างชื่อเสียงให้กับวงการ นักมวยไทย และบางคนสามารถต่อยอขึ้นไปเป็นนักมวยสากลอาชีพ และสามารถครองแชมป์โลกได้ และในบทความนี้เราจะนำเสนอ 10 ยอดนักมวยไทยในตำนาน

อันดับที่ 1. สามารถ พยัคฆ์อรุณ

สามารถ พยัคฆ์อรุณ

สามารถ มีชื่อจริงว่า สามารถ ทิพย์ท่าไม้ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่ตำบลคลองเขต (ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าข้าม) อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มหัดมวยไทยตั้งแต่อายุ 11 ขวบ โดยใช้ชื่อว่า “สามารถ ลูกคลองเขต”

โดยสามารถมีพี่ชายแท้ ๆ ซึ่งเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อดังด้วยคือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ก้องธรณีเคยชกมวยสากลเหมือนสามารถ ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยครั้งที่ 2 ได้ชิงแชมป์กับแชมป์โลกชาวไทยด้วยกันเองคือ เขาทราย แกแล็คซี่

อันดับที่ 2. ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์

ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ อดีตยอดนักมวยไทย เจ้าของฉายา ขุนเข่าเสาโทรเลข มีชื่อจริงว่า ชรินทร์ สอนดี มีชื่อเล่นว่า ต้อย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดีเซลน้อยเป็นนักมวยรูปร่างสูงโปร่ง มีช่วงชกยาวทั้งแขนและขา และมีอาวุธอันตรายคือเข่า จนได้รับฉายาว่า ขุนเข่าเสาโทรเลข หรือ ขุนเข่าทะลายฟ้า จากสื่อมวลชน โดยมีชื่อเสียงระหว่างปี พ.ศ. 2520-2528

อันดับที่ 3. อภิเดช ศิษย์หิรั

อภิเดช ศิษย์หิรัญอภิเดช ศิษย์หิรัญ ชื่อเล่น ตังค์ เป็นนักมวยไทยคนเดียวที่มีลูกเตะเป็นอาวุธสำคัญสามารถชงเท้าเข้าก้านคอคู่ต่อสู้แล้วไล่ลงมาถึงขาพับ 3 จังหวะด้วยความรวดเร็ว โดยเฉพาะแข้งขวา จนได้รับฉายา “จอมเตะแห่งบางนกแขวก” แชมป์มวยไทยรุ่นเวลเตอร์เวททั้งเวทีลุมพินีและเวทีราชดำเนิน แชมป์ประเทศไทยรุ่นเวลเตอร์เวท

อันดับที่ 4. สมรักษ์ คำสิงห์

สมรักษ์ คำสิงห์นาวาตรี สมรักษ์ คำสิงห์ เป็นนักกีฬาทีมชาติไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2539

สมรักษ์ เข้าสู่ทีมชาติครั้งแรก ในการแข่งขันโอลิมปิก ที่บาร์เซโลนา ในปี พ.ศ. 2535 ในรุ่นเฟเธอร์เวท รอบแรก ชนะ ไมค์ สแตรงก์ จากแคนาดา เมื่อ 29 กรกฎาคม รอบสอง แพ้ ฟาอุสติโน เรเยส จากสเปน เมื่อ 2 สิงหาคม ตกรอบ พ.ศ. 2536 ได้เหรียญทองมวยทหารโลกที่ประเทศอิตาลี แต่ไม่ได้ติดทีมชาติไปแข่งกีฬาซีเกมส์ในปีนั้นเพราะไม่พร้อม สมรักษ์เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาเป็นครั้งแรก จากการเป็นนักกีฬาไทย ที่ได้เหรียญทองเพียงคนเดียว ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2537 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นเกือบจะถูกตัดสิทธิ์เพราะตรวจสมรรถภาพร่างกายไม่ผ่านในครั้งแรก (ภายหลังสภาโอลิมปิคเอเชีย ได้กลับคำตัดสิน โดยให้ รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ นักว่ายน้ำ ได้ 2 เหรียญทอง)

อันดับที่ 5. แสนชัย ส.คิงสตาร์

แสนชัย ส.คิงสตาร์แสนชัย มีชื่อจริงคือ ศุภชัย แสนพงษ์ เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 ที่บ้านโนนสูง ตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ชื่นชอบกีฬาชกมวยมาตั้งแต่เด็ก เคยเป็นนักมวยไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเก่งที่สุดในยุคนี้เมื่อเทียบปอนด์ต่อปอนด์ สถิติการชกมวยสากล 5 ครั้ง ชนะ 5 (น็อค 2) แสนชัยเป็นนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงซึ่งเคยชกมวยสากล รวมถึงเคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพโดยเล่นให้แก่สโมสรฟุตบอลเมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ดในฐานะตัวสำรองอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับไปชกมวยไทยอีกในภายหลัง

อันดับที่ 6. วังจั่นน้อย ส.พลังชัย

วังจั่นน้อย ส.พลังชัยวังจั่นน้อย ส.พลังชัย มีชื่อจริงว่า อาภรณ์ โสภาพ ชื่อเล่น ภรณ์ เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นนักมวยไทยชื่อดังระดับเงินแสนคนหนึ่งในประเทศไทย โด่งดังมีชื่อเสียงอยู่ในช่วง พ.ศ. 2530–2538 มีสถิติการชกที่แท้จริงไม่มีการบันทึกไว้ แต่คาดว่าอยู่ที่ 300 ครั้ง แพ้ไม่น่าจะเกิน 50 ครั้ง

อันดับที่ 7. แก่นศักดิ์ ส.เพลินจิต

แก่นศักดิ์ ส.เพลินจิตแก่นศักดิ์ ส.เพลินจิต ฉายา  ยอดมวย 2 พศ. ชื่อจริง  พงษ์ศักดิ์ เชี่ยวชาญ ชื่อเล่น  แก่น เกิดเมื่อ  วันที่ 8 เมษายน 2512 ภูมลำเนา  อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ แก่นศักดิ์ถือเป็นนักมวยครบเครื่อง แถมรูปหล่ออีกต่างหาก เลยมีแฟนมวยให้ความสนใจติดตามการชกกันมาก และมีเกียรติประวัติที่น่าประทับใจมากมาย โดยเฉพาะการคว้าแชมป์ฟลายเวตของราชดำเนิน-ลุมพินี และการคว้าตำแหน่งนักมวยไทยยอดเยี่ยมประจำปี 2532-2533 ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา และช่วงรุ่งเรืองสุดขีดเคยได้ค่าตัวในการชกไฟต์หนึ่งถึง 380,000 บาท

อันดับที่ 8. นำบวน หนองกี่พาหุยุทธ

นำบวน หนองกี่พาหุยุทธนำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ มีชื่อจริงคือ คำเพียว ศรีจันทึก ชื่อเล่น เพียว เกิดเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ที่ตำบลจันทึก อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเป็นน้องชายของนำพล หนองกี่พาหุยุทธ อดีตนักมวยไทยที่มีชื่อเสียง

แต่เมื่อในปี พ.ศ. 2534 ที่นำพลพี่ชายแขวนนวมไปจากอุบัติเหตุทางรถ นำขบวนซึ่งขณะเกิดเหตุได้นอนดูวิดีโออยู่ที่บ้าน จึงไม่ได้รับบาดเจ็บด้วย จากนั้นมานำขบวนได้พัฒนาฝีมือขึ้นมา กลายเป็นยอดมวยที่ชกได้สวย กลายเป็นมวยเอกภายในระยะเวลาไม่นาน นำขบวนมีท่าไม้ตายทีเด็ดคือ “ไถนา” คือการจับขาของคู่ชกแล้วไถดันไปข้างหลังให้เสียหลัก จึงได้รับฉายาจากแฟนมวยว่า “จอมไถนา”

อันดับที่ 9. ผุดผาดน้อย วรวุฒิ

ผุดผาดน้อย วรวุฒิผุดผาดน้อย วรวุฒิ มีชื่อจริงว่า ผ่อน ออมกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ที่จังหวัดขอนแก่น มีชื่อเล่นว่า “หมู” เริ่มชกมวยตั้งแต่อายุ 10 ขวบตามบรรดาพี่ชาย ในชื่อ “ผุดผาดน้อย จ.หาญผจญ” ค่ายมวยในขอนแก่น ของนายแพทย์จำลอง มุ่งการดีและนายยล หาญเผชิญ (พี่ชายคนโตใช้ชื่อมวย “ผุดผาด จ.หาญผจญ”) แต่บิดา (นายผ่อง ออมกลิ่น) ไม่สนับสนุน อยากให้เรียบจบ มศ.3 ก่อน เมื่อเรียนจนจบ มศ.3 ที่ขอนแก่น ได้ฝึกเชิงมวยกับเพื่อนของพี่ชายชื่อ “ศรทอง ลูกเครื่องมือกล”

และได้ตระเวนชกทั่วภาคอีสานเป็นจำนวนกว่า 60 ครั้ง โดยไม่แพ้ใครเลย ในปี พ.ศ. 2512 เมื่ออายุได้ 18 ปี ก็ได้เดินทางเข้าชกมวยที่กรุงเทพจากการชักนำของเพื่อนนักมวยของพี่ชายอีกคนชื่อ “ศักดิ์มนู วรวุฒิ” จึงได้มาอยู่กับค่ายวรวุฒิ ของ หม่อมราชวงศ์พรพุฒิ วรวุฒิ นับแต่บัดนั้น ใช้ชื่อมวย “ผุดผาดน้อย วรวุฒิ” ชกครั้งที่เวทีราชดำเนินในรายการเดิมพัน ชนะน็อคด้วยการเตะก้านคอ ต่อมาในปีเดียวกันได้แชมป์ “ขวัญใจโลลิต้า” ในรุ่น 108 ปอนด์

อันดับที่ 10. นำศักดิ์น้อย ยุทธการกำธร

นำศักดิ์น้อย ยุทธการกำธรนำศักดิ์น้อย ยุทธการกำธร เกิดวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2522 เป็นทั้งนักมวยไทยและนักมวยสากลชาวไทย จากค่ายมวย ป.ประมุข สถิติการชก 2 ครั้ง ชนะ 1 (น็อค 1) แพ้ 1 และนอกจากนี้ เขาเป็นนักมวยไทยในยุคแรกที่ได้รับค่าตัวด้วยตัวเองที่สนามมวยเวทีลุมพินี และได้ปฏิบัติตามสืบต่อกันมาในภายหลังจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเป็นนักมวยไทยที่มีการไหว้ครูรำมวยที่สวยงามจนได้รับสมญานามว่า “ราชันย์รำมวย”

เรียบเรียงโดย : 168Asiatopten.

ติดต่อเราได้ที่นี่